Zainal Bagir (2013) เขียนเรื่องกฎหมายคุ้มครองศาสนาของอินโดนีเซีย ว่าละเมิดชีวิตมุสลิมอื่นๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยยังไง ในช่วงปี 2010 องค์กรอุลามะ (MUI) ออกฟัตวาประกาศว่ามุสลิมสาย Ahmadiyah กับ Shi'a เป็นมุสลิมปลอม ที่ทำลายศาสนา ช่วยเพิ่มความเกลียดชังในกลุ่มมุสลิมกระเเสหลัก มีการเผามัสยิดของพวกเขาและรุมทำร้าย หลายคนถึงขั้นไม่เเต่งงานกับมุสลิมปลอมพวกนั้น
ศาลรัฐธรรมนูญได้ให้ความชอบธรรมกับ MUI โดยรับรองสถานะเขาในฐานะผู้ปกป้องศาสนาที่ถูกต้อง โดยชี้ว่า รัฐควรปกป้องอัตลักษณ์ทางศาสนา (ที่ถูกต้อง) ศาสนาไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ที่อยู่ในพื้นที่ private เเต่คือคุณค่าทางสังคมและชุมชน
ยิ่งกว่านั้นคือ เมื่อมองว่ากฎหมายคุ้มครองศาสนามีเป้าหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้องของสังคม กลายเป็นว่า คนกลุ่มน้อยที่เห็นต่าง/ตีความคำสอนต่างจึงเป็นพวกสร้างความเดือดร้อนให้สังคม เเทนที่จะมองว่า MUI หรือชาวบ้านที่ทนไม่ได้กับคนเห็นต่าง แล้วยุยงหรือลงมือเผา/ทำร้ายคนอื่นจะเป็นคนสร้างความเดือดร้อน (pp.7-8)
อ่านบทความเต็มได้จากการค้นชื่อบทความนี้คับ
Bagir, Z. A. (2012). Defamation of religion law in post-reformasi Indonesia: Is revision possible?. Austl. J. Asian L., 13(2), 1-16.
ผมเห็นความต่างอย่างหนึ่งเมื่อเทียบกับนักวิชาการศาสนาไทย คือนักวิชาการมุสลิมพวกนี้เขากล้าออกมาโต้ก้บรัฐนะคับ (ดูในบทความ) ถ้ามีคนกลุ่มน้อยถูกละเมิด เขาจัดงานให้ความรู้เรื่องเสรีภาพทางศาสนา ศาลตัดสินจำคุกคนติดต่าง เขาเขียนงานมาโต้ว่าไม่ยุติธรรม เเม้จะเป็นมุสลิม เเต่อาจเพราะจบยุโรป/อเมริกา เขาทำงานที่มีคุณภาพและสู้เพื่อเหยื่อได้ (อาจเพราะได้ทุนวิจัยต่างประเทศด้วย)
หันมาที่ไทย พอสำนักพุทธจะจัดการพระปีนเสา น้องไนซ์ ขนมอาลัว ฯลฯ นักวิชาการพุทธไม่ได้สนใจอะไร ถ้าจะออกมาจัดงาน ก็จัดเพื่อปกป้องศาสนา เช่น นิพพานเป็นอนัตตา สวดปาติโมกข์ต้อง 227 คนทรงหมอผีผิดหลักการพุทธ การเชื่อมจิตไม่มีจริง ฯลฯ
คือมาช่วยรุมกระทืบเหยื่อ ไม่ได้มีเซนส์เรื่องสิทธิมนุษยชนเลย .. เเต่ส่วนหนึ่งเพราะเขาจบในไทยเเละอินเดียด้วยคับ ผมไม่ได้บูลลี่สถาบัน เเต่เขาไม่ได้ซึบซับเสรีภาพ/การต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิ ไม่ได้เรียนกับอาจารย์เก่งๆ รับทุนวิจัยก็รับจากไทย หรืออ่านหนังสือต่างประเทศน้อยเกินไป
Comments
Post a Comment